ครื่องตัดของแข็งถือเป็นหนึ่งในเครื่องจักรทางการผลิตที่สำคัญต่อโรงงานหลายแห่ง เนื่องจากมันมีประโยชน์ต่อการแปลงรูปร่างของวัตถุให้มีรูปลักษณ์หรือขนาดที่เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า และเนื่องจากโลหะเป็นวัตถุที่มีเนื้อแข็งมาก การตัดจึงจำเป็นต้องใช้งานเครื่องจักรที่ออกแบบมาโดยเฉพาะแบบเหล็ก เพื่อให้งานออกมาดี สวยงามและสามารถผลิตออกมาได้เป็นจำนวนมากในเวลาอันสั้น ซึ่งถือเป็นจุดสำคัญต่อการแข่งขันในตลาดการผลิตเลยทีเดียว
เครื่องจักรสำหรับตัดโลหะ ที่วางจำหน่ายอยู่ในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกัน 4 แบบ แบ่งตามเทคโนโลยีที่ใช้ในการตัด ได้แก่
1.การใช้ เลเซอร์
2.การใช้ พลาสมา
3.การใช้ ที่เจาะหัวแบบตอก
4.การใช้ แรงดันน้ำ
โดยเครื่องจักแต่ละประเภทมีลายละเอียดดังต่อไปนี้
1.เครื่องตัดแบบ พลาสม่า ( Plasma )
ก่อนอื่นต้องเข้าใจกันก่อนว่า พลาสม่า นั้น เป็นสถานะที่ 4 ของสสาร ( หลังจาก ของแข็ง, ของเหลว และ แก๊ส ) โดยมันเกิดจากการกระตุ้นอิเล็กตรอนให้หลุดจากอะตอมของสสาร ซึ่งการทำอย่างนั้นจะทำให้เกิดพลังงานความร้อนสูงจนสามารถนำมาใช้เช่าแบบเหล็กในตัด โลหะ ได้
เอกลักษณ์ของการใช้ พลาสม่า ในการตัด คือ มันสามารถตัดโลหะที่มีเนื้อหนาออกจากกันได้รวมถึงยังเป็นวิธีที่ตัดได้รวดเร็วกว่าการใช้วิธีอื่น ๆ แต่อย่างไรก็ตามมันก็ยังมีจุดอ่อนตรงที่ ร่องตัด มีขนาดใหญ่และเอียง ซึ่งมันไม่ค่อยสะดวกเท่าไหร่หากต้องการนำมาใช้กับงานที่ต้องการความละเอียดสูง แต่มันเหมาะกับงานที่ไม่มีความซับซ้อนและคลาดเคลื่อนได้โดยไม่มีปัญหาอะไร
2.เครื่องตัดแบบ เลเซอร์ ( Laser )
เป็นเครื่องที่ใช้พลังงานความร้อนตัดเหมือนกัน แต่กระบวนการผลิตพลังงานความร้อนจะแตกต่างออกไป รวมถึงอุปกรณ์ที่ใช้ในการตัดจะมีขนาดที่เล็กกว่าแบบใช้พลังงาน พลาสม่า มาก จึงมีความเหมาะสมกับการผลิตที่ต้องการความละเอียดมากกว่า เนื่องจากร่องตัดมีขนาดเล็ก และ สันแนวตัดตรง ความสวยงามของงานที่มีความซับซ้อนจึงทำออกมาได้ดีกว่านั่นเอง
อย่างไรก็ตาม เครื่องตัดแบบ เลเซอร์ ก็ไม่สามารถที่จะใช้ตัดโลหะที่มาความหนามากได้ รวมถึงต้นทุนที่ใช้ก็ยังมีราคาที่ค่อนข้างสูงมากอีกด้วย เพราะฉะนั้นหากไม่จำเป็นก็อย่าเพิ่งตัดสินใจรีบใช้เครื่องตัดแบบ เลเซอร์ กับทุกงานการผลิต
3.เครื่องเจาะระบบหัวตอก ( Punching )
ตัวเครื่องจักรใช้หัวตอกเจาะลงบนแผ่นโลหะ เพื่อทำให้เกิดเป็นรูหรือแนวตัดตามรูปร่างของหัวตอก ซึ่งหัวตอกนั้นก็มีหลายแบบให้ผู้ผลิตได้เลือกใช้อย่างหลากหลาย ตัวเครื่องมีความแม่นยำ และสามารถเจาะได้ด้วยความเร็วสูง กับงานที่มีหัวแม่พิมพ์รองรับ
แต่ด้วยเนื่องจากเป็นการตัดด้วยวิธีการใช้แรงกด มันจึงทำให้ไม่สามารถตัดโลหะที่มีความหนาได้ อีกทั้งการตัดแบบเป็นแนวเส้นโค้งยังจะต้องใช้หัวแม่พิมพ์ตอกต่อ ๆ กัน ซึ่งมันอาจทำให้แนวตัดออกมาไม่สวยเนียนมากนัก
4.การตัดแบบใช้ แรงดันน้ำ ( waterjet )
วิธีนี้แบ่งออกได้เป็น 2 ระบบหลัก ๆ ได้แก่ ระบบที่ใช้แรงดันน้ำเปล่า และ ระบบที่ใช้สารกัดกร่อนเข้าช่วย โดยทั้งสองระบบมีหลักการคล้าย ๆ กัน ซึ่งข้อดีของการใช้ระบบนี้คือ มันจะไม่มีกระบวนการที่เกี่ยวกับความร้อนใด ๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง จึงทำให้งานไม่เกิดความเสียหาย หลอมละลาย หรือ สูญเสียคุณสมบัติทางกายภาพ แถมยังใช้ต้นทุนไม่สูงด้วยอีกต่างหาก
แต่เนื่องจากเป็นการใช้น้ำในการตัด จึงทำให้การผลิตงานแต่ละชิ้นเป็นไปได้ค่อนช้าพอสมควร แถมร่องตัดก็ยังมีขนาดใหญ่กว่าการตัดด้วยเลเซอร์อีกต่างหาก แต่มันก็สามารถใช้ได้กับงานที่ต้องการความลายละเอียดที่ไม่สูงมากเท่าไหร่เช่นเดียวกัน
งานตัดทั้ง 4 แบบมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไปอย่างชัดเจน ผู้ใช้งานควรเลือกซื้อเครื่องจักรที่มีแนวโน้มว่าจะได้ใช้งานบ่อยเป็นอันดับแรกก่อนทีจะซื้อเครื่องจักรอื่น ๆ มาใช้เป็นลำดับลองลงมา เพื่อการลงทุนที่ได้ผลตอบแทนคุ้มค่ามากที่สุดนั่นเอง